Saturday, June 22, 2013
Posted by LCDHDTV on 10:36 AM with No comments
คุณรู้หรือไม่ อาหารก็ทำให้ไตวาย!
การเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่คุณรู้หรือไม่ อาหารบางชนิดสามารถทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ลองไปดูกันค่ะ
Posted by LCDHDTV on 10:35 AM with No comments
ใช้ยาอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อไต
ไตเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการขจัดของเสียและสารต่าง ๆ ที่ร่างกายไม่ต้องการ รวมถึงยาหรือสารต่าง ๆ ออกไปในรูปปัสสาวะ ดังนั้นไตจึงมีความเสี่ยงสูงในการได้รับอันตรายจากพิษของยาและสารเคมี บางอย่างได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องแต่เดิมอยู่แล้ว และจำเป็นต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยามากขึ้น
Posted by LCDHDTV on 10:33 AM with No comments
ไตวายเฉียบพลันเป็นอย่างไร
ไตวายเฉียบพลัน…เพิ่มความเสี่ยงตายไว!! ไตวายเฉียบพลัน เกิดจากไตสูญเสียการทำงาน ในเวลาภายในไม่กี่ชั่วโมงไม่กี่วัน ส่งผลให้การควบคุมสมดุลของเสียร่างกายเกิดการเสียหาย
Posted by LCDHDTV on 10:31 AM with No comments
ไตเป็นอวัยวะภายในที่อยู่ใต้กล้ามเนื้อหลังของร่างกายบริเวณบั้นเอวทั้งสองข้าง ปกติไตมีสองข้างลักษณะคล้ายถั่วยาว 12-14 เซนติเมตร
ไตมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ
เมื่อเข้าสู่ไตเรื้อรังระยะที่ 3 เป็นต้นไป ไตจะเริ่มขับสารน้ำและของเสียออกทางปัสสาวะผิดปกติ ทำให้ร่างกายมีอาการเช่น
ไตมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ
- กรองของเสียและสารน้ำออกจากร่างกายออกมาทางปัสสาวะ ของเสียที่ไตกำจัดได้แก่ ยูเรีย หรือ บียูเอ็น (BUN) ครีอะตินิน (Creatinine) เป็นต้น
- รักษาระดับเกลือแร่ในเลือดให้เป็นปกติ เกลือแร่เหล่านี้ได้แก่ โซเดียม โปแตสเซียม แคลเซียม ฟอสเฟต และกรดด่างในร่างกาย
- สร้างฮอร์โมนหลายชนิด
- สารควบคุมความดันโลหิต คือเรนิน ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่คงที่
- สารสร้างเม็ดเลือดแดง คือ อีริโทรโพอิติน ช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง
- สารเสริมสร้างกระดูก คือ วิตามินดี ช่วยให้ระดับฟอสเฟตและแคลเซียมอยู่ในระดับปกติ ช่วยให้กระดูกแข็งแรง
โรคไตเรื้อรังคืออะไร
เมื่อเราอายุมากกว่า 30 ปี ไตของเราเริ่มทำงานลดลงตามธรรมชาติ เสื่อมอย่างช้าๆประมาณ 1% ต่อปี แต่ถ้าไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องทำให้เกิดความผิดปกติถาวร เรียกว่า โรคไตเรื้อรังโรคไตเรื้อรังเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
- โรคเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เอสแอลอี (ภูมิคุ้มกันผิดปกติ) โรคเก๊าท์ นิ่วในไต ไตอักเสบ การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ เป็นต้น
- ผลข้างเคียงจากยาและสารเคมีต่างๆ ได้แก่ ยาแก้ปวดข้อ โดยเฉพาะที่เรียกว่า เอ็นเสด ยาปฏิชีวนะ ยาลดความอ้วน ยาชุด ยาสมุนไพรเป็นต้น
- กรรมพันธุ์หรือความผิดปกติตั้งแต่เกิด เช่น ไตมีขนาดเล็ก มีการอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ ถุงน้ำในไต
- อัตราการกรองของไต(GFR) บ่งถึงการทำงานของไต ซึ่งคำนวนจากระดับ ครีอะตินีนในเลือด เพศ และอายุ
- ความผิดปกติของปัสสาวะ
- การตรวจทางรังสี
โรคไตเรื้อรังมีผลอย่างไร
เมื่อไตทำงานผิดปกติระยะแรกๆท่านจะไม่มีอาการใดๆของไตวายเลยก็ได้ อาการที่ท่านมีอยู่อาจเป็นอาการของโรคเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภูมิแพ้ เป็นต้นเมื่อเข้าสู่ไตเรื้อรังระยะที่ 3 เป็นต้นไป ไตจะเริ่มขับสารน้ำและของเสียออกทางปัสสาวะผิดปกติ ทำให้ร่างกายมีอาการเช่น
- รู้สึกไม่สบาย อ่อนเพลีย คลื่นไส้ รับรู้รสชาติอาหารลดลง เบื่ออาหารรู้สึกง่วงซึม สับสน มีอาการปวดกระดูกและข้อ
- โลหิตจาง เหนื่อยง่าย และอ่อนเพลีย เกิดจากไตสร้างฮอร์โมนที่ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงได้ไม่เพียงพอ
- บวมบริเวณเท้า และรอบๆเปลือกตา เนื่องจากไตกำจัดสารน้ำส่วนเกินไม่ได้ จึงเกิดการสะสมในร่างกายมากขึ้น จึงเกิดอาการบวม เป็นๆหายๆ เมื่อเป็นมากจะเกิดอาการน้ำท่วมปอด ทำให้อึดอัดหายใจลำบาก
- ความดันโลหิตสูง ทำให้มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง อ่อนเพลีย และเป็นโรคหัวใจได้
Subscribe to:
Posts (Atom)