Saturday, June 22, 2013

เลือกทาน ลดความดันโลหิต

Dash (แดช) คืออะไร ย่อมาจาก Dietary to Stop Hypertensionเป็นอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอลต่ำ เน้นผักผลไม้เป็นหลัก ประกอบกับผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ และควบคุมปริมาณโซเดียมทำให้ช่วยลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ และยังทำให้ยาลดความดันทำงานได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

คุณรู้หรือไม่ อาหารก็ทำให้ไตวาย!

การเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่คุณรู้หรือไม่ อาหารบางชนิดสามารถทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ลองไปดูกันค่ะ

ใช้ยาอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อไต

ไตเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการขจัดของเสียและสารต่าง ๆ ที่ร่างกายไม่ต้องการ รวมถึงยาหรือสารต่าง ๆ ออกไปในรูปปัสสาวะ ดังนั้นไตจึงมีความเสี่ยงสูงในการได้รับอันตรายจากพิษของยาและสารเคมี บางอย่างได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องแต่เดิมอยู่แล้ว และจำเป็นต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยามากขึ้น

ไตวายเฉียบพลันเป็นอย่างไร

ไตวายเฉียบพลัน…เพิ่มความเสี่ยงตายไว!! ไตวายเฉียบพลัน เกิดจากไตสูญเสียการทำงาน ในเวลาภายในไม่กี่ชั่วโมงไม่กี่วัน ส่งผลให้การควบคุมสมดุลของเสียร่างกายเกิดการเสียหาย


ไตเป็นอวัยวะภายในที่อยู่ใต้กล้ามเนื้อหลังของร่างกายบริเวณบั้นเอวทั้งสองข้าง  ปกติไตมีสองข้างลักษณะคล้ายถั่วยาว 12-14 เซนติเมตร
มารู้จักไต กันเถอะ
ไตมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ
  1. กรองของเสียและสารน้ำออกจากร่างกายออกมาทางปัสสาวะ  ของเสียที่ไตกำจัดได้แก่ ยูเรีย หรือ บียูเอ็น (BUN)  ครีอะตินิน (Creatinine) เป็นต้น
  2. รักษาระดับเกลือแร่ในเลือดให้เป็นปกติ  เกลือแร่เหล่านี้ได้แก่ โซเดียม โปแตสเซียม แคลเซียม ฟอสเฟต และกรดด่างในร่างกาย
  3. สร้างฮอร์โมนหลายชนิด
  • สารควบคุมความดันโลหิต คือเรนิน ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่คงที่
  • สารสร้างเม็ดเลือดแดง คือ อีริโทรโพอิติน  ช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง
  • สารเสริมสร้างกระดูก คือ วิตามินดี ช่วยให้ระดับฟอสเฟตและแคลเซียมอยู่ในระดับปกติ  ช่วยให้กระดูกแข็งแรง

โรคไตเรื้อรังคืออะไร

เมื่อเราอายุมากกว่า 30 ปี ไตของเราเริ่มทำงานลดลงตามธรรมชาติ เสื่อมอย่างช้าๆประมาณ 1% ต่อปี  แต่ถ้าไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องทำให้เกิดความผิดปกติถาวร เรียกว่า โรคไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรังเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

  1. โรคเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  เอสแอลอี  (ภูมิคุ้มกันผิดปกติ)  โรคเก๊าท์   นิ่วในไต ไตอักเสบ การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ เป็นต้น
  2. ผลข้างเคียงจากยาและสารเคมีต่างๆ ได้แก่ ยาแก้ปวดข้อ โดยเฉพาะที่เรียกว่า เอ็นเสด  ยาปฏิชีวนะ ยาลดความอ้วน ยาชุด ยาสมุนไพรเป็นต้น
  3. กรรมพันธุ์หรือความผิดปกติตั้งแต่เกิด เช่น ไตมีขนาดเล็ก  มีการอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ  ถุงน้ำในไต
การแบ่งระยะของโรคไตเรื้อรัง ทราบได้จาก
  1. อัตราการกรองของไต(GFR) บ่งถึงการทำงานของไต   ซึ่งคำนวนจากระดับ ครีอะตินีนในเลือด เพศ และอายุ
  2. ความผิดปกติของปัสสาวะ
  3. การตรวจทางรังสี

โรคไตเรื้อรังมีผลอย่างไร

เมื่อไตทำงานผิดปกติระยะแรกๆท่านจะไม่มีอาการใดๆของไตวายเลยก็ได้  อาการที่ท่านมีอยู่อาจเป็นอาการของโรคเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภูมิแพ้ เป็นต้น
เมื่อเข้าสู่ไตเรื้อรังระยะที่ 3 เป็นต้นไป ไตจะเริ่มขับสารน้ำและของเสียออกทางปัสสาวะผิดปกติ  ทำให้ร่างกายมีอาการเช่น
  • รู้สึกไม่สบาย  อ่อนเพลีย คลื่นไส้  รับรู้รสชาติอาหารลดลง  เบื่ออาหารรู้สึกง่วงซึม สับสน มีอาการปวดกระดูกและข้อ
  • โลหิตจาง  เหนื่อยง่าย  และอ่อนเพลีย  เกิดจากไตสร้างฮอร์โมนที่ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงได้ไม่เพียงพอ
  • บวมบริเวณเท้า และรอบๆเปลือกตา  เนื่องจากไตกำจัดสารน้ำส่วนเกินไม่ได้  จึงเกิดการสะสมในร่างกายมากขึ้น  จึงเกิดอาการบวม เป็นๆหายๆ  เมื่อเป็นมากจะเกิดอาการน้ำท่วมปอด  ทำให้อึดอัดหายใจลำบาก
  • ความดันโลหิตสูง  ทำให้มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง  อ่อนเพลีย  และเป็นโรคหัวใจได้